ไฟฟ้าเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับบ้านพักอาศัย และ การเดินสายไฟฟ้าภายในบ้าน เป็นเรื่องสำคัญที่ต้องติดตั้งและตรวจสอบให้ดี เพราะหากมีข้อผิดพลาดอาจนำไปสู่ความเสียหายทั้งชีวิตและทรัพย์สินได้
การเดินสายไฟฟ้าภายในบ้าน มีกี่แบบ
การเลือกแบบการเดินสายไฟฟ้าภายในบ้านเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นจะต้องมีการวางแผนตั้งแต่เริ่มสร้างบ้าน เพราะเกี่ยวข้องกับความสะดวกในการติดตั้งและความสวยงาม โดยการเดินสายไฟฟ้าภายในบ้าน สามารถแยกออกเป็น 2 รูปแบบใหญ่ ๆ ได้แก่
การเดินสายไฟฟ้าภายในบ้านแบบเดินลอย
รูปแบบการเดินสายไฟฟ้าภายในบ้านที่ใช้กันมานาน วิธีการคือการเดินสายไฟแนบติดไปกับผนัง ซึ่งมี 2 แบบหลัก ๆ คือ
- แบบตีกิ๊บ เป็นเดินสายไฟแนบไปกับผนัง หักงอไปตามเสา ตามคาน แล้วเชื่อมต่อไปยังเต้ารับและเครื่องใช้ไฟฟ้า โดยมีการตีกิ๊บเพื่อยึดเกาะเป็นระยะ ๆ วิลล่าภูเก็ต
- แบบท่อร้อยสายไฟ เป็นการร้อยสายไฟผ่านท่อโลหะหรือท่อพลาสติก PVC การเดินสายไฟแบบนี้ช่วยป้องกันสายไฟให้ทนทาน ปลอดภัย ตรวจเช็กได้ง่าย แต่ควรระวังไม่ให้สายไฟในท่อมีความหนาแน่นเกินไป เพราะอาจจะทำให้เกิดไฟฟ้าลัดวงจรได้
สำหรับข้อดีของการเดินสายไฟฟ้าภายในบ้านแบบเดินลอยคือ ประหยัดเวลาและงบประมาณในการติดตั้ง สามารถปรับปรุงซ่อมแซมได้ง่ายกว่าโดยไม่ต้องรื้อผนัง PREFAB
ข้อเสียคือต้องใช้ความปราณีตในการติดตั้ง มีสวิตช์หรือเต้าเสียบยื่นออกมาจากผนัง จึงต้องเช็คความลงตัวในการจัดวางเฟอร์นิเจอร์ด้วย และหากจำเป็นต้องเดินสายไฟเป็นจำนวนมาก จะทำให้บ้านดูรกไม่สวยงาม
การเดินสายไฟฟ้าภายในบ้านแบบฝังผนัง
การเดินสายไฟในท่อร้อยสายไฟที่ฝังไว้ในผนังหรือฝ้าเพดาน จึงทำให้ผนังบ้านเรียบเนียน ไม่มีแนวสายไฟให้เห็น สำหรับการเดินสายไฟฟ้าภายในบ้านแบบฝังผนัง หากเป็นการฝังในผนังเบา ขั้นตอนจะไม่ยุ่งยาก เพราะมีช่องว่างภายในระหว่างโครงคร่าวทำให้สะดวกต่อการเดินสายไฟ และสามารถติดตั้งท่อร้อยสายไฟระหว่างติดตั้งโครงคร่าวแล้วจึงค่อยปิดแผ่นผนัง
ส่วนการซ่อนสายไฟไว้ในผนังก่ออิฐ จะต้องเจาะผนังแล้วใช้ท่อร้อยสายไฟลงไปในช่อง การเดินสายไฟจึงจำเป็นต้องมีการวางแผนให้ดีและใช้ช่างผู้ชำนาญ
สำหรับข้อดีของการเดินสายไฟฟ้าภายในบ้านแบบฝังผนัง คือดูเรียบร้อยสวยงาม ประหยัดพื้นที่ ไม่มีบล็อคลอยออกมาจากกำแพง มีความทนทานและปลอดภัยต่อไฟฟ้าลัดวงจรมากกว่า เพราะสายไฟไม่ต้องเจอกับสภาพอากาศภายนอก
ข้อเสียของการเดินสายไฟแบบฝังผนัง คือขั้นตอนการติดตั้งค่อนข้างยุ่งยาก ค่าใช้จ่ายสูงกว่า จำเป็นต้องใช้ช่างที่ชำนาญ และหากเกิดการชำรุดภายในจุดที่มองไม่เห็น การซ่อมแซมจะค่อนข้างยุ่งยาก
รู้จัก 6 ประเภทสายไฟ เพื่อการเลือกใช้อย่างเหมาะสม
ประเภทสายไฟสำหรับการติดตั้งแบ่งออกเป็นสำหรับใช้กับแรงดันไฟต่ำและแรงดันไฟสูง ซึ่งสำหรับอยู่อาศัยมักใช้สายไฟสำหรับใช้กับแรงดันไฟต่ำ ซึ่งเป็นสายไฟที่ใช้กับแรงดันไฟฟ้าที่ไม่เกิน 750 โวลต์ ทำด้วยทองแดงหรืออลูมิเนียม แต่โดยทั่วไปจะเป็นสายทองแดง ห้องมีกลิ่นอับ
โดยสายขนาดเล็กจะเป็นสายตัวนำเดี่ยว สายขนาดใหญ่จะเป็นตัวนำตีเกลียว และฉนวนที่ใช้งานจะเป็น PVC และ XLPE โดยชนิดของสายไฟแรงดันต่ำ ได้แก่
- THW เป็นสายเดี่ยว ทนแรงดันไฟฟ้า 750 โวลต์ อุณหภูมิใช้งานที่ 75 องศาเซลเซียส เหมาะกับงานเดินท่อร้อยสาย เดินใต้ฝ้าและในผนัง ไม่ควรฝังลงดินนิยมใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม เพราะสามารถใช้ในวงจรไฟฟ้า 3 เฟสได้
- VAF มีแบบสายคู่และสายดิน ชนิด 2 แกน หรือ 3 แกน เป็นสายแบน ตัวนำมีฉนวนหุ้มและมีเปลือกหุ้มอีกหนึ่งชั้น ทนแรงดันไฟฟ้า 300 โวลต์ อุณหภูมิใช้งานที่ 70 องศาเซลเซียส เหมาะกับการเดินสายไฟแบบลอย ห้ามฝังลงดินนิยมใช้ตามบ้านพักอาศัย
- VCT/VCT-G ฉนวนและเปลือกทำมาจาก PVC ตัวนำเป็นทองแดงฝอยเส้นเล็กมัดรวมกันเป็นแกน มีตั้งแต่ 1-4 แกน ส่วนสาย VCT-G เป็นสาย VCT มีสายดินอีกเส้นหนึ่ง ทนแรงดันไฟฟ้า 750 โวลต์ อุณหภูมิใช้งานที่ 70 องศาเซลเซียส เหมาะสำหรับเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ต้องต่อสายลงดิน
- NYY/NYY-G มีทั้งชนิดแกนเดียวและหลายแกน มีเปลือกหุ้มอีกหนึ่งชั้น ทนแรงดันไฟฟ้า 750 โวลต์ อุณหภูมิใช้งานที่ 70 องศาเซลเซียส เหมาะสำหรับการฝังดินโดยตรงหรือร้อยท่อ นิยมใช้ภายนอกอาคาร
- THW-f (flexible) หรือ IEC02 สายอ่อนชนิดกลมแกนเดียว ฉนวนทำจาก PVC ทนแรงดันไฟฟ้าไม่เกิน 750 โวลต์ อุณหภูมิไม่เกิน 70 องศาเซลเซียส เหมาะสำหรับเดินสายไฟภายในอุปกรณ์ไฟฟ้าในตู้ควบคุม ร้อยท่อเดินใต้ฝ้าและในผนัง
- IEC10 สายชนิดกลมมีตั้งแต่ 2-4 แกน ทนแรงดันไฟฟ้า 300/500 โวลต์ อุณหภูมิไม่เกิน 70 องศาเซลเซียส เหมาะในการเดินสายไฟในบ้าน ใต้ฝ้าและผนัง
ติดตั้งไฟฟ้าภายในบ้านอย่างไรให้ปลอดภัย
แม้ไฟฟ้าจะมีประโยชน์มากมาย แต่ก็แฝงอันตรายอยู่ด้วย จึงควรติดตั้งและดูแลให้ถูกวิธี เพื่อความปลอดภัยและยืดอายุการใช้งานของระบบไฟฟ้าภายในบ้าน โดย
- ติดตั้งอุปกรณ์ตัดวงจรอัตโนมัติ หากมีกระแสไฟฟ้ารั่วไหลออกจากเครื่องใช้ไฟฟ้า หรือมีกระแสไฟฟ้าลัดวงจร อุปกรณ์นี้จะตัดวงจรไฟฟ้าในทันที วิลล่า
- ติดตั้งสายดิน สายดินจะติดตั้งไว้อยู่ที่เมนไฟ ช่วยลดอันตรายที่จะเกิดขึ้นภายในวงจร และมักจะทำงานคู่กับอุปกรณ์ตัดวงจรอัตโนมัติ
- แยกวงจรออกเป็นส่วน ๆ เพื่อความสะดวกในการแก้ไขและบำรุงรักษา โดยเฉพาะเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ต้องใช้ไฟสูง เช่น เครื่องปรับอากาศ ควรแยกสวิตช์ออกมาต่างหาก
- เลือกใช้สายไฟที่มีคุณภาพ โดยเลือกใช้สายไฟที่ผ่านมาตรฐานจากสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมหรือ มอก. เพื่อความปลอดภัย
- เลือกช่างที่มีประสบการณ์และความชำนาญ เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในการได้มาซึ่งระบบไฟฟ้าในบ้านที่ปลอดภัยและสวยงาม