บ้านสไตล์บาหลี บ้านแบบบาหลีคือการสร้าง บ้านให้กลมกลืนกับสภาพแวดล้อม ตามธรรมชาติในเขตร้อน ตัวบ้านจะมีส่วนที่เป็นลานเปิดโล่ง และหลังคาทรงสูงโดยไม่มีฝ้าเพดาน เชื่อกันว่าบ้านแบบบาหลี ได้รับอิทธิพลบางส่วนมาจากสถาปัตยกรรมแบบฮินดู ที่แพร่เข้ามาในชวา โดยในระยะแรกๆจะเป็นลักษณะ ของอาคารสำหรับ ทำพิธีกรรมทางศาสนาและค่อยๆพัฒนามา เป็นอาคารสำหรับพักอาศัย
ลักษณะของสถาปัตยกรรม แบบนี้เป็นที่นิยมของชาวเกาะ ทั้งหลายในมหาสมุทรแปซิฟิก บ้านแบบบาหลีดั้งเดิมจะใช้วัสดุธรรมชาติที่ หาได้ในท้องถิ่น เช่น ไม้ ไม้ไผ่ ดิน ใบจาก เป็นต้น ซึ่งเป็นลักษณะของ การสร้างบ้านในเขตร้อนทั่วไป ความสามารถในการสร้างบ้าน ให้สอดคล้องกลมกลืนกับ ธรรมชาติจึงเป็นภูมิปัญญา ท้องถิ่นที่ถ่ายทอดต่อๆกันมา
บ้านสไตล์บาหลี
เมื่อได้มีการนำรูปแบบ้านบาหลี มาประยุกต์ใช้ในงานสถาปัตยกรรม ในปัจจุบันได้มีการเปลี่ยนแปลง ทั้งในเรื่องวัสดุและรูปแบบของอาคาร ในส่วนที่เกี่ยว กับวัสดุนั้นได้มีการนำ คอนกรีตมาใช้แทนไม้จาก ธรรมชาติมากขึ้นทั้งนี้อาจเป็นเพราะไม้หายากและมีราคาแพง ในเรื่องของรูปทรงของอาคาร ก็มีการพัฒนาให้เหมาะสม กับสภาพแวดล้อมในปัจจุบันที่มีการใช้เครื่องปรับอากาศกันมากขึ้น รูปแบบของสถาปัตยกรรม จึงเป็นแบบสมัยใหม่
สิ่งที่ยังคงแสดงถึงเอกลักษณ์ที่โดดเด่น ของบ้านบาหลีในปัจจุบัน คือรูปทรงของหลังคาที่มีลักษณะเฉพาะ รวมถึงการจัดสัดส่วนภายในบ้านที่เน้นความโปร่งโล่ง ของตัวอาคารโดยการจัดวาง เครื่องใช้และเฟอร์นิเจอร์เพื่อแบ่งสัดส่วนภายในบ้านแทนการกั้นเป็นห้องๆ สีที่นิยมใช้ในการตกแต่ง บ้านแบบบาหลีมักจะเป็นสีที่มี ความกลมกลืนกับสีของไม้และสีขาวเป็นส่วนใหญ่
ลักษณะบ้านสไตล์บาหลี
จุดเด่นของบ้านสไตล์บาหลี นั้นคือการนำเอาธรรมชาติ รอบตัวมาจำลองอยู่ในบ้าน โดยจะสร้างบ้านในแบบที่เน้นความโล่ง โปร่งสบาย และเนื่องจากบ้านสไตล์บาหลีนั้น เป็นบ้านที่อยู่ในแถบอากาศร้อนชื้น ฝนตกชุก จึงมีระยะชายคาที่ยื่นยาวปกคลุมได้ดี หลังคาของบ้านสไตล์บาหลี มักเป็นกระเบื้องดินเผา และมีบ่อน้ำเล็ก ๆ ประกอบกับตัวบ้าน อีกทั้งชาวบาหลีมีความเชื่อเรื่องเทพเจ้า จึงมีการเอารูปปั้นเทพองค์ต่างๆ มาประดับทางเข้าหลัก ทั้งหน้าบ้านและรั้วด้วย
แบบที่ 1 บ้านสไตล์บาหลีโมเดิร์น
การสร้างบ้านก็เหมือนการทำขนม ตรงที่ต้องหาสมดุลที่เหมาะสม ซึ่งเป็นสิ่งที่ยากที่สุด ในการทำให้สำเร็จ เพราะต้องมีส่วนผสมในสัดส่วนที่เหมาะสม รสชาติต้องเข้ากันได้ดี และไม่ปะทะกันเอง จนได้ความหอมความหวาน ที่ลงตัวตั้งแต่คำแรกที่ได้ชิม สำหรับการตกแต่งบ้าน ก็อาจจะแตกต่างไปบ้างตรงที่
บางครั้งก็ไม่ได้มีตำราตายตัวเป๊ะ ๆ อาจจะลองหยิบจับสิ่งที่ต่าง แต่คาดว่าจะมาอยู่รวมกัน ได้ลงตัวก็ออกมาดูน่ามอง จะพาไปดูแนวทางการ แต่งบ้านสไตล์บาหลี ที่ไม่รู้สึกถึงความทึมทึบ ไม่มีดอกลีลาวดี แต่มีความน่ารักทันสมัยแฝงอยู่ด้วยเผื่อเป็นไอเดียใหม่ๆ ในการตกแต่งที่ฉีกแนว ออกไปจากเดิมๆ กัน
เจ้าของบ้านหลังนี้ชื่อ เอมิลี่และโรเบิร์ต คู่รักชาวสวีเดนที่ตัดสินใจ ให้บาหลีเป็นบ้านหลังที่สอง โรเบิร์ตเป็นชาวสแกนดิเนเวียที่พื้นที่ฐานงาน สถาปัตยกรรมชอบความเรียบง่าย และชอบความเป็นธรรมชาติ ในขณะที่เอมิลี่เป็นนักออกแบบแฟชั่นที่ชอบความเปิดเผย มีวิสัยทัศน์ทางศิลปะที่สนุกสนาน บุคลิกและอุปนิสัยที่ตรงข้ามกัน ทำให้การตกแต่งมีทั้งส่วนที่เรียบ เย็น ไร้สีสัน เป็นธรรมชาติ และส่วนที่มีการใช้สีสดๆ พื้นผิวที่แตกต่าง และผลิตภัณฑ์ตกแต่งภายในที่โดดเด่นออกมาอย่างชัดเจน
พวกเขาได้รับแรงบันดาลใจ จากสถาปัตยกรรมแบบ Brutalist Architecture คือการแสดงเนื้อแท้ของวัสดุที่ก่อรูปมาเป็นตัวเองอย่างชัดเจน ในที่นี้คือคอนกรีต การนำเสนอสัจจะวัสดุ สถาปัตยกรรมของบราซิล และการออกแบบร่วมสมัยที่มีพื้นฐานมาจากบาหลี ให้ภาพรวมของบ้านมีทั้ความงโอ่อ่า แข็งแกร่ง แต่ก็มีความอ่อนช้อยอยู่ด้วย เส้นแนวตั้งคอนกรีตดิบที่ใช้ร่วมกับ ความนุ่มนวลของทางเดินโค้งๆ ใบไม้ในสวนและสวนแขวน สร้างความสมดุลที่สมบูรณ์แบบระหว่างความตึงเครียด และความนุ่มนวล
โรเบิร์ตและเอมิลี่ ตัดสินใจเลือกวัสดุ 3 อย่างเพื่อใช้ในบ้าน ส่วนผสมแรกคือคอนกรีต ซึ่งถูกนำมาใช้ทั้งภายในและภายนอก ด้านในขัดมัน ด้านนอกถูกปล่อยให้ดิบ ๆ จากนั้นจึงเลือกวัสดุที่ลดทอน องค์ประกอบที่ดิบแข็งด้วยงานไม้ที่มีสีเข้มสำหรับกรุผนัง ตู้ และโครงไม้ และองค์ประกอบสุดท้ายที่เห็นตลอด คือ กระจก เพิ่มความใส สดชื่น และเบาสบาย
มุมนั่งเล่นกึ่งกลางแจ้งนอกบ้าน วางโต๊ะข้างไม้ขนาดเล็กและโต๊ะกลางหินขัดเตี้ยๆ ท็อปไม้ที่ใช้เป็นโต๊ะกาแฟ ดูน่ารักแต่ก็ทันสมัย ใกล้ๆ กันเป็นเบาะนั่งโทนสีขาวเขียว ทำจากผ้าให้ความรู้สึก เป็นกันเองสบายๆ นอกจากนี้ยังมีเก้าอี้หวายทรงเรดาร์กลมสไตล์เรโทร Scandinavian Mid-Century Modern ที่เราคุ้นตากันดียามเด็กวางตั้ง ชวนให้หย่อนตัวลงนั่ง เป็นการผสมผสาน ที่ยอดเยี่ยมของชิ้น ส่วนจากสแกนดิเนเวีย อิตาลี และที่อื่น ๆ ทุกชิ้นเป็นแบบคลาสสิกและใช้งานได้หลากหลาย
ในการตกแต่งภายใช้ชิ่น ส่วนรายละเอียดเล็ก ๆ น้อยๆ มีความสำคัญในการสร้างบรรยากาศมาก ๆ ทั้งคู่เลือกใช้พรมและผ้าทอแบบพื้นเมืองผืนใหญ่หลากสีสัน และลวดลายสำหรับปูผนังและผนังบางส่วน เพื่อเพิ่ม Texture และสีสันให้กับพื้นและผนังเรียบๆ ตามจุดต่างๆ ของบ้านมีงานปั้นดินเผาเซรามิกเป็นแจกัน ถ้วย ชาม กระถางต้นไม้รูปร่างและขนาดต่างๆ กันวางตกแต่งให้สัมผัสเสน่ห์ ความเป็นพื้นบ้าน
เฟอร์นิเจอร์หลักๆ แต่ละชิ้นที่นี่เป็นแบบสั่ง ทำขึ้นสำหรับบ้านหลังนี้ ตามรสนิยมของพวกเขา ไม่ว่าจะเป็นโซฟาแบบเบาะรองนั่ง เก้าอี้ไม้บริเวณทานข้าว โต๊ะกลางไม้เตี้ยๆ ม้านั่งที่เคาน์เตอร์ครัว งานสร้างสรรค์เหล่านี้ เมื่อมารวมกับส่วนประกอบอื่นๆ ที่ซื้อหามาจับวางด้วยกัน กลายเป็นบ้านในบาหลี ที่ดูเหนือกาลเวลา และทันสมัย เหมือนคนทำขนมที่ได้สร้างสรรค์เค้กให้สมบูรณ์ แบบโดยใส่ทุกสิ่งที่แสดงออก ถึงความหลงใหล จุดแข็ง ลักษณะเด่น ของแต่ละคนไปอย่างเป็นตัวที่สุดจนได้ชิ้นงานที่สวยงาม
บ้านในเขตร้อนชื้น สิ่งที่ขาดไม่ได้คือสเปซโล่งโปร่ง ช่องลมขนาดใหญ่ที่จะช่วยรับลม ให้ไหลเข้ามาสร้างความสบาย ช่องแสงที่เหมาะสมในการสร้างแสงสว่าง ตามธรรมชาติในช่วงกลางวัน และช่วยลดความชื้น บ้านหลังนี้จึงออกแบบให้ประตูหน้าต่างขนาดใหญ่ เปิดออกได้กว้างจนดูเหมือน ไม่มีผนังในบางจุด ภายในเจาะเป็นส่วนที่เป็นโถงสูงสองชั้น Double Space เอื้อให้อากาศร้อนลอยตัวขึ้นสู่ที่สุง และรับายออกได้ดี มีหน้าต่าง ติดกระจกขนาดใหญ่ทำหน้าที่รับ สร้างความรู้สึกโปร่งเบา และเบอลขอบเขตระหว่าง ภายในภายนอกได้ดี
อยู่บาหลีทั้งทีต้องไม่ขาดสวนเขียวๆ เพิ่มความร่มรื่นและองค์ประกอบ ของน้ำให้ความชุ่มฉ่ำเย็นสบาย ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เราจะเห็นความนิยมปลูกต้น ลีลาวดีค่อนข้างมาก ในบ้านนี้แม้จะไม่มี แต่ก็ยังปลูกไม้สไตล์ทรอปิคอลที่เขียวครึ้มและสีสันสดใส อาทิ ปักษาสวรรค์ ต้นจั๋ง มอนสเตอร่า ต้นหมาก ต้นปาล์มใบพัด ไปถึงต้นมะพร้าว และยังมีสระว่ายน้ำใกล้ๆ บ้าน ตอบโจทย์บ้านโมเดิร์นทรอปิอคล ที่ต้องการทั้งความร่ม เย็น และมีไอน้ำพาดผ่านผิวสบายๆ
การตกแต่ง บ้านสไตล์โมเดิร์นทรอปิคอล หรือแบบที่มีกลิ่นอาย แบบร้อนชื้นนั้น มักจะเน้นที่สเปซโล่งกว้าง ช่องแสงช่องลมขนาดใหญ่ ที่เอื้อให้ลมเข้ามา flow ภายในได้เต็มที่ และมีความสว่างลดความชื้น ตามธรรมชาติ รอบบ้านมักจัดสวนด้วยพรรณไม้ที่ส่วนใหญ่ก็ เป็นไม้ท้องถิ่นที่เติบโตได้ดี และไม่ต้องดูแลให้ยุ่งยาก มีองค์ประกอบของน้ำเพิ่มความชื้น และเย็นสบายในฤดูร้อน เพื่อให้อาคารดูกลมกลืน กับสภาพแวดล้อมจึงมีการใช้วัสดุธรรมชาติ เช่น ไม้ ผสมผสานกับการเลือก ใช้วัสดุที่ดูแลรักษาง่าย เช่น อิฐ อิฐช่องลม คอนกรีตเปลือย เป็นต้น
แบบที่ 2 บ้านไม้โปร่งสไตล์บาหลี
สำหรับคนชอบบ้านไม้ และยังคงรักสไตล์ลอฟท์เท่ ๆ หลังนี้เป็นส่วนผสม ที่ลงตัวเลยจริง ๆ ลองมาเก็บไอเดียการตกแต่งบ้านหลังนี้ไปด้วยกันเลย บ้านหลังนี้ออกแบบมาเป็น บ้านพักตากอากาศชั้นเดียว บนเกาะบาหลีค่ะ ส่วนโครงสร้างฐานรากจนถึงพื้นบ้านจะเป็นคอนกรีต ยกระดับขึ้นไปเล็กน้อย ติดตั้งหน้าต่าง และประตูกระจกเกือบรอบด้าน ทางเข้าบ้านเป็นประตูบานเกล็ดไม้ แบบบานเฟี๊ยมเปิดมุมหน้าบ้านได้กว้างดี หลังคา บ้านทรงบาหลี มุงกระเบื้องดินเผาสีโทนเทาดำ ด้านนอกจัดตกแต่ง สวนหย่อมสวยงามลงตัวมาก
ตัวบ้านออกแบบให้ มีสระว่ายน้ำส่วนตัวด้วย ว่ายไปดูทะเลไป บรรยากาศไฮคลาสจริง ๆห้องนอนในบ้านออกแบบให้มีประตูกระจกเปิดโปร่ง รับลมเย็นจากภายนอกได้สุด ๆ พื้นบ้านเป็นปูนขัด มันเรียบทั้งหลัง เข้ากันดีกับเฟอร์นิเจอร์หวาย
มุมนั่งเล่นระเบียงบ้านนี้ ก็ยังเป็นอีกจุดที่ให้คุณได้ นั่งพักผ่อนอ่านหนังสือได้ชิล ๆ ภายในห้องพักผ่อน จัดวางโซฟาตัวแอลขนาดใหญ่เอาไว้ ส่วนด้านหลังเป็นเคาน์เตอร์ครัว และตู้สำหรับเก็บอาหาร และของใช้ต่าง ๆ ได้ สนามหญ้าหน้าบ้านหันต่อเชื่อม กับชายหาดและทะเล เช้า ๆ มาเล่นโยคะตรงนี้ ก็เหมาะดีนะ
ห้องน้ำตกแต่งด้วยปูนเปลือยทั้งห้อง เรียบง่าย ราคาไม่แพงและยังลงตัวกับ บ้านแนวบาหลีอีกด้วย ส่วนนี้จะเป็นพื้นที่ Shower ค่ะ ห้องน้ำเปิดผนังโล่ง ช่วงครึ่งบน เหมือนห้องน้ำแบบ Outdoor เลย เคาน์เตอร์ครัวก็ เป็นปูนเปลือยขัดมันเช่นกันค่ะ ด้านล่างติดตั้งชั้นวางของและภาชนะได้อีก บ้านเดี่ยว
นอกจากนี้ด้านหลังยังมี สระว่ายน้ำส่วนตัวเป็นสระเกลือขนาด 12 เมตรอีกด้วย เตียงนอนเป็นเตียงแบบสี่เสา กางมุ้งไว้เรียบร้อยช่วยป้องกันยุงป่าได้ แถมยังสวยโรแมนติกได้อีก บริเวณริมสระมีลานอาบแดดไว้ ด้านข้าง ให้นอนรับแดดอุ่นหรืออ่านหนังสือเล่นได้ชิลๆ แม้บ้านหลังนี้จะเป็นดีไซน์ แบบบาหลี แต่วัสดุก็สามารถหาได้ในเมืองไทยเช่นกัน อีกทั้งยังเหมาะกับสภาพ อากาศเมืองไทยอีกด้วย ใครที่กำลังมองหาแบบบ้านไม้สวย ๆ อยู่ ลองดูหลังนี้กันได้