3 แบบบ้าน ประหยัดงบ ดีไซน์ทันสมัย ตอบโจทย์ทุกไลฟ์สไตล์

3 แบบบ้าน ประหยัดงบ การจะสร้างบ้านสักหลังใน ยุคเศรษฐกิจแบบนี้ หลายคนคงกำลังหาวิธี ในการสร้างบ้านให้ตามงบกับที่ตนมีอยู่ หรือหากเป็นไปได้ก็ คิดหาวิธีในการประหยัดงบประมาณ ไม่ว่าจะเป็นลดการตกแต่งที่น้อยลง การหาวัสดุทดแทน หรือ แม้แต่ปรับเปลี่ยนรูปแบบบ้าน จากที่ตนคิดไว้เลยก็มี

3 แบบบ้าน ประหยัดงบ

6 เทคนิค สร้างบ้านประหยัดงบประมาณ

1.เปลี่ยนวิธีในการสร้างหรือออกแบบบ้าน
หากคุณกำลังคิดที่ จะสร้างบ้านในราคา ประหยัดแล้วหละก็ คุณอาจจะต้องเลือกปรับเปลี่ยน วิธีในการสร้างและออกแบบบ้านใหม่ เช่น ในกรณีของการเดินสายไฟ คุณอาจเลือกวิธีปรับเปลี่ยนมา เป็นการเดินสายไฟลอย และใช้วิธีเก็บสายไฟให้เรียบร้อยแทน เพื่อเป็นการลดงบประมาณใน เรื่องของการใช้แรงงานและความประณีตไปได้ส่วนหนึ่ง

แบบบ้านเป็นชั้นเดียว แต่ต้องการยกสูง ซึ่งต้องใช้งบประมาณ ในการถมดินค่อนข้างมาก เพื่อไม่ให้บ้านทรุด อาจลองปรับเปลี่ยนมาเป็นเล่น ระดับของบ้านแทน ก็จะทำให้ตัวบ้านดูโปร่งขึ้น โดยไม่ต้องเสียสตางค์เยอะ

2.เลือกสเปควัสดุที่จำเป็น
หากต้องการสร้างบ้านใน ราคาประหยัดแล้วนั้น การเลือกสเปควัสดุเท่าที่จำเป็น ก็ถือเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยที่จะทำให้คุณประหยัดงบประมาณไปได้ เช่น โซนซักล้างหลังบ้าน อาจเลือกใช้การเทปูนเปือยธรรมดา เป็นต้น

3.สร้างบ้านให้เหมาะสมกับพื้นที่
การเลือกพื้นที่ในการสร้าง บ้านให้แค่พอเหมาะกับ จำนวนสมาชิกภายในบ้าน โดยพื้นที่ที่เหลือสามารถนำไปทำเป็นสวน ลานนั่งเล่น หรือเพื่อการเกษตรปลูกผัก สวนครัวแล้วนั้น การสร้างบ้านตามพื้นที่ ที่พอเหมาะกับคนในครอบครัว นอกจากจะประหยัดงบประมาแล้ว ยังช่วยในเรื่องของระบบถ่ายเท อากาศภายในบ้านได้ดีอีกด้วย

4.ควรดูแสงและลม ให้เหมาะสมช่วยในการประหยัด
หลักการสร้างบ้านในราคาประหยัดอีกวิธีง่าย ๆ นั้น เพียงแค่คุณรู้จักทิศทางของลมและแสง เช่น การหันหน้าต่างเข้าสู่ทิศทางที่มีแสงส่องถึง การต่อเติมระเบียงในทิศทางที่มีลมพัดผ่านเข้าบ้านได้อยู่ตลอด เพียงเท่านี้ ก็สามารถประหยัดไปได้เบื้องต้นทั้งในเรื่องของการติดตั้งดวงไฟภายในบ้านที่เกินความจำเป็น หรือการติดตั้งแอร์ในบางห้องเป็นต้น

5.ดูแปลนบ้านให้ตามความเหมาะสม
การวางผังหรือแปลนบ้านนับว่าเป็นอีกหนึ่งสิ่งสำคัญ เพราะจะทำให้คุณเห็นถึงภาพกว้าง ทั้งหมดของบ้านเราจากการดูแปลนหรือแผนผังของบ้าน และทำให้คุณสามารถวิเคราะห์ และตัดสิ่งที่ไม่จำเป็นออกได้ ดังนั้นการวาดแปลนบ้านหากจะให้คำนึงถึง ความประหยัดด้วยแล้วนั้น ควรยึดตามพื้นที่ที่จำเป็น เช่น ห้องน้ำ ห้องนอน เป็นหลัก

6.ปรับเปลี่ยนวัสดุ
คุณสามารถสร้างบ้านราคา ประหยัดได้โดยการเลือกใช้วัสดุ เช่น การใช้ปูนเปลือยแทน การใช้กระเบื้อง หรือพื้นไม้ การใช้ยิปซั่มบอร์ด แทนอิฐมอญเบาเป็นต้น แบบบ้าน ประหยัดงบ

แบบที่ 1 บ้านประหยัดงบ คุณภาพชีวิตดี ๆ ในงบหลักแสน

3 แบบบ้าน ประหยัดงบ

บ้าน เป็นจุดมุ่งหมายสูงสุดของใครหลาย ๆ คน สำหรับคนที่มีงบประมาณมากก็สร้างฝันให้เป็นจริงได้ง่าย แต่คนที่งบน้อยก็ใช่ว่าจะไม่มีโอกาสเป็นเจ้าของบ้าน เพราะปัจจุบันมีทางเลือกในการสร้างบ้านมากมาย ไม่ว่าจะเป็นบ้านขนาดเล็ก บ้านจากวัสดุที่หาง่ายในท้องถิ่น ที่ทำให้การอยู่อาศัยในงบน้อยมีคุณภาพได้เช่นกัน อย่างบ้านในกัวเตมาลาหลังนี้ ออกแบบโดยบริษัทสถาปัตยกรรมเล็ก ๆ ที่กระตือรือร้นที่จะมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศ ปรับปรุงสภาพความเป็นอยู่ของครอบครัวในพื้นที่ชนบท

โดยออกแบบบ้านที่มีค่าใช้จ่ายในการลงทุนประมาณ 20,000 เหรียญ หรือประมาณ 600,000 กว่าบาท ถ้าทำในไทยราคาจะถูกลงกว่านี้กว่าครึ่ง (ขึ้นอยู่กับราคาวัสดุและค่าแรงช่างในท้องถิ่น) แม้ว่าจะมีการกำหนดเป้าหมายว่าบ้านสำหรับวิกฤตการณ์ในกัวเตมาลา แต่ทีมงานเชื่อว่ารูปแบบที่อยู่อาศัยนี้สามารถนำแบบไปก่อสร้างได้ทั่วประเทศ (และต่างประเทศ) เหมาะสำหรับคนที่ต้องการบ้านราคาถูกแต่อยู่อาศัยได้ดี บ้านเดี่ยว

การก่อสร้างใช้วัสดุที่มีอายุการใช้งานยาวนานและหาได้ง่ายในท้องถิ่น เพื่อลดงบประมาณในการก่อสร้างให้มากที่สุด เช่น คอนกรีตบล็อก หลังคาไม้ไผ่ และแผ่นเหล็ก ตัวอาคารก่อผนังด้วยอิฐบล็อกก้อนสี่เหลี่ยมทึบเพื่อความแข็งแรง จำนวนที่ใช้ทั้งหมดประมาณ 2,500 ก้อน ราคาประมาณก้อนละ 6.5-12 บาท สลับกับการใช้บล็อกช่องลมแบบคู่

เพื่อปกป้องพื้นที่ด้านในจากสายตาคนภายนอกและช่วยเพิ่มพื้นที่รับแสง ระบายอากาศตามธรรมชาติตลอดทั้งช่องว่าง จำนวนอิฐช่องลมใช้ประมาณ 780 ก้อน ราคาก้อนละ 9 บาท รวมงานผนังงบประมาณ 23,000 กว่าบาท ทั้งนี้ยังไม่รวมค่าปูน หลังคา ประตู หน้าต่าง ค่าแรง และงานโครงสร้างอื่น ๆ แต่ก็พอจะเห็นงบคร่าว ๆ ที่ค่อนข้างต่ำ และไม่ต้องเปลืองวัสดุและค่าแรงสำหรับการฉาบทั้งภายในภายนอก

แบบที่ 2 บ้านประหยัดงบ เน้นฟังก์ชันแบบแนว ๆ

บ้านประหยัดงบ เน้นฟังก์ชันแบบแนว ๆ

บ้านปูนเปลือย นำของเหลือใช้ประกอบร่างให้กลายเป็นบ้าน ของเหลือใช้ ครั้งหนึ่งก็เคยใหม่ เคยมีคุณค่าและประโยชน์ เมื่อใช้ไปนาน ๆ ก็ย่อมเสื่อมคุณภาพเสื่อมค่าไปตามเวลา บ้างก็ถูกทิ้งหรือถูกลืมแล้วซื้อใหม่ แต่สำหรับบางคนของเก่ากลับให้ความอิ่มเอมทางจิตใจทุกครั้งที่ได้มอง จึงนำมาเป็นส่วนหนึ่งในการเรียงร้อยมาเป็นบ้าน อย่างเช่นบ้านที่ชื่อโครงการ “The Obsolete House” หรือ Omah Amoh ในภาษาชวา

เป็นบ้านในประเทศอินโดนีเซียที่ไม่ได้สวยหรู ทำจากวัสดุที่ดูดิบ ๆ ง่าย ๆ ตกแต่งด้วยของเก่าและของใช้พื้นบ้าน แต่สามารถเปลี่ยนความรู้สึกทางสถาปัตยกรรมของคำว่าบ้าน โดยการใช้ความคิดและความรู้สึกเป็นหลัก เพื่อที่จะทำบ้านแบบนอกกรอบ จนในที่สุดทีมงานออกแบบก็ค้นพบการสร้างสรรค์บ้านที่เรียบง่าย ประหยัด จากพลังของวัสดุที่เคยถูกทิ้ง จากภูมิปัญญาท้องถิ่น และสเปซที่สร้างขึ้นภายใน

แบบที่ 3 บ้านประหยัดงบ ใช้วัสดุทางเลือกประยุกต์ให้อยู่เย็น

บ้านประหยัดงบ ใช้วัสดุทางเลือกประยุกต์ให้อยู่เย็น

บ้านโครงสร้างเหล็กผนังเมทัลชีท ชีวิตที่ไม่มีทางเลือกมากนัก หากฟังคำนี้จะรู้สึกได้ถึงความขาดโอกาส ทำให้อาจต้องรับหรือเลือกสิ่งที่ไม่ถูกใจแบบจำยอม ถ้าเป็นเรื่องของการสร้างบ้านที่ต้องใช้ชีวิตอยู่ทุกวันในระยะยาว ถ้าไม่ชอบหรือไม่สบายก็จะทำให้เกิดความทุกข์มากกว่าความสุข

แต่ก็ต้องยอมรับว่างบประมาณก็เป็นส่วนสำคัญที่จะกำหนดรูปแบบ ขนาด และการเลือกสเปควัสดุของบ้าน คงจะดีถ้าเรามีทางเลือกสานฝันของตัวเองต่อได้ โดยใช้วัสดุที่มีคุณสมบัติที่ดี การออกแบบฟังก์ชันเหมาะสม ในงบประมาณที่สามารถจับจองเป็นเจ้าของได้ง่ายขึ้น ช่วยให้เราเป็นเจ้าของบ้านที่อยู่เย็นกายสบายใจเหมือนบ้านในเวียดนามหลังนี้

บ้านเรียบง่ายกะทัดรัดในงบน่ารัก บ้านทรงสูงปกคลุมภายนอกด้วยเมทัลชีทลูกฟูกหลังนี้ สร้างบนที่ดินขนาดเล็กในชุมชน An Luong เขต Thanh Ha, Hai Duong ประเทศเวียดนาม เป็นบ้านที่คุณพ่อคุณแม่อยากสร้างให้ลูกชายที่กำลังจะแต่งงาน ความต้องการแรกของเจ้าของบ้านคือ

บ้านที่เรียบง่าย กะทัดรัด และราคาไม่แพง นอกจากนี้ทั้งคู่ยังต้องการให้บ้านของลูกชายแสดงบุคลิกของตัวเองออกมาได้อย่างเต็มที่ H&P Architects สตูดิโอสัญชาติเวียดนามจึงออกแบบบ้านง่าย ๆ มีการตกแต่งภายในแบบเปิดโล่งและตาข่ายที่สงบแต่ดูสนุกสนานภายใน

บ้านประหยัดเงินประหยัดพลังงาน บ้าน 2 ชั้น หลังคาจั่วใช้วัสดุที่เป็นมิตรและมีอยู่ในท้องถิ่น เช่น อิฐ เหล็ก ไม้ไผ่ เมทัลชีทฯลฯ บนหลังคาสามารถติดตั้งแผงโซล่าร์เซลล์ที่สามารถผลิตไฟฟ้าสำหรับอุปกรณ์ไฟฟ้าทั่วไปที่ใช้ในครัวเรือนทั่วไปได้มากกว่าที่จำเป็นถึงสองเท่า ไฟฟ้าส่วนเกินที่เหลือจะถูกจัดเก็บหรือซื้อขาย

ด้านบนหลังคามีระบบฉีดน้ำเพื่อทำความสะอาดและทำให้หลังคาเย็นลงในช่วงฤดูร้อน ซึ่งระบบการใช้น้ำวนซ้ำแบบนี้ได้รับความสนใจเป็นพิเศษ ทำให้บ้านที่ดูธรรมดาที่สงบสุข มีสเปซเปิดโล่งใช้เป็นพื้นที่อเนกประสงค์สำหรับทำกิจกรรมและปลูกพืชผัก ก่อให้เกิดความสมดุลของระบบนิเวศและความมั่นคงทางเศรษฐกิจที่เป็นตัวอย่างสำหรับชุมชน