แบบบ้านสไตล์นอร์ดิก ทรงสุดฮิต ที่โดดเด่นดูเรียบง่าย

แบบบ้านสไตล์นอร์ดิก บ้านสไตล์นอร์ดิกมีที่มา ด้วยการดำเนินชีวิต วัฒนธรรม และแนวคิดของคนแถบยุโรปเหนือ ที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม และการอยู่ร่วมกันกับธรรมชาติ จึงได้มีการหยิบยืมรูปทรงธรรมชาติมาใช้ (Organic Form) เน้นความเรียบง่าย วัสดุที่โชว์ลวดลายเอกลักษณ์ และอัตลักษณ์ของธรรมชาติ เช่น ลวดลายบนแผ่นไม้ ที่จะถูกนำมาปรุงแต่งให้ยังคงรูปแบบความงามทางธรรมชาติ และลดทอนความซับซ้อนให้ดูเรียบง่าย สบายตามากขึ้น ด้วยสภาพภูมิอากาศที่หนาวเย็น มีช่วงเวลาหน้าร้อนที่สั้น

บ้านนอร์ดิกจึงเน้นการเชื่อมต่อพื้นทิ่ภายในอาคารกับธรรมชาติภายนอก และมีการนำวัสดุธรรมชาติมาใช้เยอะ เช่น พื้นผนังไม้ เฟอร์นิเจอร์ไม้ โทนสีธรรมชาติ (Neutral) หรือสีกลาง เช่น สีขาว สีเทา สีเบจ สีอ่อน และในยุคหลังก็มีการนำสีโทนสดใสเข้ามาใช้เพื่อสร้างสีสันให้มากขึ้นรวมทั้งการประดับต้นไม้ไว้ตามจุดต่างๆก็ช่วยสร้างความเป็นนอร์ดิกได้ชัดขึ้น

แบบบ้านสไตล์นอร์ดิก

ลักษณะเด่นของบ้านสไตล์ Nordic ที่ปรับให้เหมาะกับเมืองไทย

ทำไมสไตล์บ้านของเมืองหนาว ถึงได้รับความนิยมในเมืองไทยที่แสนอบอ้าวกันล่ะ? นั่นก็เพราะโดยหลักการการทำบ้านนอร์ดิก จะเน้นการเปิดรับแสงธรรมชาติ และการเปิดพื้นที่โล่งเพื่อเชื่อมต่อกับธรรมชาติ ทั้งสายลมและแสงแดด ซึ่งผู้ออกแบบสามารถปรับให้เหมาะสมกับสภาพอากาศเมืองไทยที่เป็นลักษณะภูมิอากาศแบบร้อนชื้น (Tropical climate) ได้ไม่ยาก และต้องให้ความสำคัญกับทิศทางลม กับช่องแสงมากขึ้นกว่าบ้านสไตล์อื่น

ลักษณะเด่นของบ้านสไตล์นอร์ดิก ภายนอก

1.เส้นสายที่เรียบง่าย รูปทรงที่ไม่ซับซ้อน
การออกแบบตัวอาคารลักษณะเป็นทรงเรขาคณติที่ดูเรียบง่าย สบายตา ไม่มีรายละเอียดที่ซับซ้อนเกินความจำเป็น เส้นสายที่สะอาด เป็นเส้นนำสายตาดึงดูดความสนใจ

2.จั่วสูง ภายในตัวบ้านโปร่ง โครงหลังคาลาดชัน มีกระจกเยอะหรือสูงเพื่อรับแสงธรรมชาติ
ตัวหลังคาจะใช้รูปแบบทรงจั่วสูง ภายในโปร่งโล่งสบาย การออกแบบที่คำนึงถึงประโยชน์ใช้สอย และโดดเด่นด้วยความงาม เน้นช่องแสงจากกระจกในการรับแสดงธรรมชาติ การยกจั่วสูงที่ทำให้หลังคาลาดชัน ซึ่งความลาดเอียงในระดับที่มากกว่าปกติจะช่วยให้น้ำฝนไหลลงด้านล่างได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ไม่เกิดน้ำขังบริเวณหลังคาจนเกิดการรั่วซึมได้ง่าย

นอกจากนี้โครงหลังคาที่สูงยังช่วยให้ภายในตัวบ้านโปร่งโล่ง อากาศร้อนลอยตัวขึ้นสู่ที่สูงได้ดี หากเสริมช่องระบายอากาศเพิ่มจะเอื้อให้อากาศถ่ายเทสะดวก ภายในบ้านอยู่เย็นสบายตลอดเวลา เรามักจะเห็นบ้านนอร์ดิกชั้นเดียวมากกว่า แบบ 2 ชั้น

3.ใช้สีธรรมชาติ (Neutral) สีขาว เทา ดำ เบจ และวัสดุธรรมชาติ
เฉดสีบ้านสไตล์นอร์ดิก เน้นความเป็นธรรมชาติ “บรรยากาศ” ของความเรียบง่าย สงบ อบอุ่นและผ่อนคลายแก่ผู้อยู่อาศัย มักตกแต่งด้วยโทนสีของธรรมชาติ อาทิ การเลือกใช้โทนสีขาวเป็นสีพื้น, สีเอิร์ธโทนอย่างสีน้ำตาลของไม้ เป็นต้น การเลือกวัสดุตกแต่งผนังที่คุมโทน โดยปูแผ่นไม้ส่วนหนึ่ง หรืออีกด้านหนึ่งปูด้วยแผ่นหิน ซึ่งวัสดุทั้งสองรูปแบบได้แรงบันดาลใจจากวัสดุตกแต่งบ้านตามสไตล์นอร์ดิก สะท้อนถึงอารมณ์อันสุขุม สอดคล้องกับวิถีชีวิตที่เรียบง่ายและรักในธรรมชาติที่เป็นคุณลักษณ์เด่น

ลักษณะเด่นของบ้านสไตล์นอร์ดิก ภายใน

1.เน้นรูปทรงของเฟอร์นิเจอร์ที่เรียบง่าย
เน้นงานลอยตัว ปรับเปลี่ยน เคลื่อนย้ายง่ายวัสดุที่ปรับเปลี่ยนและเคลื่อนง่ายง่ายช่วย ช่วยลดพลังงานเสียตอบรับกับเทรนโลกร้อน

2.ใช้ผนังและเฟอร์นิเจอร์สีธรรมชาติ (Neutral)
เช่น สีขาว เทา ดำ เบจ และวัสดุที่มีส่วนของธรรมชาติ ผนังสีอ่อน โดยเฉพาะสีเบจอ่อนและสีขาว จะช่วยให้บ้านดูโปร่งตา สะอาด และสว่าง ลดการใช้พลังงานไฟฟ้าได้อีกด้วย

3.ตกแต่งเพิ่มเติมด้วยต้นไม้
ประดับมุมต่าง ๆ ด้วยต้นไม้ ซึ่งนอกจากความร่มรื่น ต้นไม้หลายชนิดช่วยฟอกอากาศภายใน และยังสร้างบรรยากาศ เชื่อมธรรมชาติเข้าสู่ตัวอาคารได้เป็นอย่างดี

แบบที่ 1 บ้านสไตล์นอร์ดิกวิวน่าอิจฉา หลังคาเอียงได้เอียงดี

แบบบ้านสไตล์นอร์ดิก

การดีไซน์บ้านจะต้องเป็นไปตามกฎ Zoning ที่ท้องที่กำหนดให้โรงจอดรถที่แยก หรือโรงจอดรถที่แนบมากับนั้นต้องมีรูปร่างแบบหลังคาเอียงลงแบบเพิงหมาแหงน บ้านสองชั้นหลังนี้จึงเชื่อมต่อองค์ประกอบทั้งสองนี้ไว้ใต้หลังคาทรงมุมที่ไม่สมมาตร ด้านหนึ่งไม่มีกันสาดไม่มีชายคาเหมือนบ้านสไตล์นอร์ดิกทั่วไป

แต่อีกด้านหลังคาลาดลู่ลงมายาว ๆ เพื่อทำหน้าที่เป็นโรงรถไปในตัว ซึ่งลักษณะหลังคาแบบนี้ก็มีอีกหนึ่งข้อดีคือ ช่วยขจัดหิมะในฤดูหนาวให้ไหลลงได้อย่างง่ายดาย และยังยอมให้แสงแดดส่องเข้ามาที่ด้านหน้าและด้านหลังของบ้าน สีของหลังคาที่ทำสนิทตัดกับผิวอาคารไม้สีอ่อน ๆ ทำให้บ้านดูทันสมัย แปลกตา แต่ยังคงความรู้สึกอบอุ่น

ส่วนหน้าของบ้านหลังนี้เป็นคอนกรตและไม้ ทางเข้าสามารถหันไปทางด้านข้างเพื่อความเป็นส่วนตัวมากขึ้น แม้ภายนอกจากดูเรียบนิ่งสะท้อนถึงบุคลิกความสุภาพเรียบร้อยของชาวสวิสและชาวแคนาดา แต่โลกภายในบ้านกลับเต็มไปด้วยชีวิตชีวา เพราะมีความหลากหลายเชิงพื้นที่ เพื่อให้ทุกส่วนใช้งานได้จริง

สำหรับชั้นล่างจะเป็นร่วมกันจัดแปลนแบบ open plan วางฟังก์ชันครัว ห้องทานอาหาร และมุมนั่งเล่นผิงไฟเอาไว้ด้วยกันโดยไม่มีผนังแบ่งกั้นเป็นห้อง ๆ ทำให้เกิดสเปซกว้าง ๆ การใช้งานลื่นไหล เด็กเล็กวิ่งเล่นในบ้านได้อย่างที่เจ้าของบ้านต้องการ ผนังบ้านเป็นกระจกใสรับแสงธรรมชาติยามเช้าได้เต็มที่ทำให้บ้านดูสดชื่นในทุกเช้า

ผนังชั้นล่าง คานรองรับ และเตาผิงไฟ ล้วนสร้างด้วยคอนกรีตแบบหล่อในที่ ซึ่งมีความรู้สึกหนาหนักทั้งทางสายตาและน้ำหนักจริง ๆ เพื่อใช้รองรับแผงสำเร็จรูปที่ทำจากไม้ลาร์ชน้ำหนักเบา ที่เข้ามาลดความหนักและความแข็งกระด้างของคอนกรีต เพิ่มสัมผัสอบอุ่นให้บ้าน ไม้นี้เป็นชนิดเดียวกับที่ใช้เป็นเปลือกหุ้มภายนอกด้วย

ชั้นล่างจะเป็นร่วมกันจัดแปลนแบบ open plan วางฟังก์ชันครัว ห้องทานอาหาร และมุมนั่งเล่นผิงไฟเอาไว้ด้วยกัน

ซึ่งมีคุณสมบัติที่ดีคือ จะเกิดคราบและจางหายไปอย่างรวดเร็วไม่ทิ้งรอยเมื่อเจอสภาพอากาศที่รุนแรงของภูเขา ถัดจากครัวจะเป็นบันไดที่ค่อย ๆ ไต่ระดับขึ้นไปชั้นลอยและชั้นสอง บ้านจึงมีบางส่วนที่เป็นโถงสูงทำให้บ้านดูโปร่งสบายและเชื่อมต่อสายตากันได้ทุกระดับชั้น

หน้าต่างและ skylight ถูกจัดอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมกับการใช้งาน ทำให้บ้านสว่างในช่วงกลางวันจนแทบไม่ต้องเปิดไฟฟ้าส่องสว่าง พร้อมรับวิวภายนอกได้ด้วย วัสดุกระจกและการจัดแสงของบ้านหลังนี้สร้างขึ้นตามมาตรฐานที่เกินจากที่กำหนดในท้องถิ่น ทำให้บ้านมีประสิทธิภาพด้านพลังงานสูงมากจนโครงการนี้มีคุณสมบัติเป็นบ้านแบบประหยัดพลังงานตามมาตรฐานในแคนาดาได้เลย

ห้องนอน 3 ห้องบนชั้น 2 บริเวณจุดที่สูงที่สุดของบ้าน ติดตั้งประตูและผนังกระจก ที่ให้มุมมองออกไปที่เนินหญ้า ทิวป่า และเลยขึ้นไปเห็นท้องฟ้าสีครามที่อยู่ทักทายกับเจ้าของห้องตั้งแต่เช้าไปจนถึงก่อนเข้านอน แถมยังมีระเบียงให้ออกไปสูดกลิ่นธรรมชาตินอกอาคารได้อีก

ห้องสำหรับวัยรุ่นที่ต้องการความเป็นส่วนตัว ถูกแยกออกมาจากส่วนอื่น ๆ ของบ้าน พร้อมทำฟังก์ชันซอกเล็ก ๆ เป็นเหมือนกล่องสี่เหลี่ยมให้ซุกตัวอ่านหนังสือ เล่นกีตาร์ บ้านนี้จึงออกแบบมาอย่างเข้าใจคนทุกวัยตอบได้ทุกความต้องการ

ในแต่ละโซนของโลกจะมีสภาพแวดล้อม สภาพภูมิอากาศต่างกัน การดีไซน์บ้านจึงต้องออกแบบให้สอดคล้องกับลักษณะเฉพาะของท้องถิ่น อย่างเช่น บ้านเขตหนาวมีหิมะตก จะต้องออกแบบหลังคาให้สามารถรองรับน้ำหนักหิมะได้ มักไม่มีกันสาดไม่มีชายคาเพื่อให้หิมะไหลลงง่าย ๆ ไม่ให้ค้างติด ส่วนช่องเปิดที่เป็ผนังกระจกจะมีขนาดใหญ่และจำนวนมากเพื่อรับแสงเข้าไปสร้างความอบอุ่น

ซึ่งหากนำแบบบ้านมาสร้างในเขตร้อนจะไม่เหมาะ เพราะทำให้บ้านร้อนและผนังชื้นเป็นเชื้อราได้ ต้องมีการปรับเปลี่ยนทิศทางผนังกระจกในทิศที่รับแสงไม่มาก หรือเลือกวัสดุที่สะท้อนแสงได้ดี เป็นต้น

แบบที่ 2 บ้านสไตล์นอร์ดิก จัดสวนกลางแจ้งให้อยู่กลางบ้าน

แบบบ้านสไตล์นอร์ดิก

บ้านหลังคาผสมทรงจั่วด้านบนและทรงแบนด้านล่าง คือรูปแบบของการผสมผสานกลิ่นอายของความนอร์ดิกให้เข้ากับสไตล์โมเดิร์นได้อย่างลงตัว เห็นได้ว่าเส้นสายที่แสนเรียบง่ายดูคุ้นตา เมื่อมาอยู่ร่วมกันกลับสร้างมิติใหม่ รวมถึงสร้างความสมดุลไม่ให้บ้านสูงจนเกินไป และขณะเดียวกันก็ไม่ทำให้เกิดรูปฟอร์มที่แข็งเกินไปด้วยเช่นกัน

ด้านหน้าที่ยื่นออกมาประมาณ 3 – 4 เมตร จัดสรรให้เป็นส่วนของโรงจอดรถในตัว หลังคาแบน เสาเหล็กหุ้มไม้ เปิดผนังโปร่ง ๆ ไม่ให้อาคารดูทึบตันจนเกินงาม ผนังส่วนหนึ่งกรุด้วยวัสดุไม้ตามแนวตั้ง สีน้ำตาลโทนสว่าง ทำให้บ้านมีความอ่อนโยนขึ้นอีกระดับหนึ่ง

กั้นโซนเพื่อเปลี่ยนความรู้สึก ระหว่างโรงจอดรถกับตัวบ้าน มีการเว้นพื้นที่สี่เหลี่ยมเล็ก ๆ ไว้สำหรับจัดสวนแคคตัส โรยพื้นด้วยหินสีขาว เลือกต้นไม้ฟอร์มสวย รูปทรงแปลกตามาปลูก เหมือนสร้างปฏิมากรรมน้อย ๆ โดยธรรมชาติให้กับบ้าน นอกจากจะได้ความสดชื่นแล้ว สวนลักษณะนี้ยังดูแลง่าย ไม่ยุ่งยาก เหมาะกับคนที่ไม่มีเวลาเป็นอย่างมาก

เปิดมุมมองภายในตรงผนังที่อยู่ตำแหน่งตรงกันสวนหย่อมด้วยบานกระจกใส ตีตารางเป็นกรอบสี่เหลี่ยม 12 กรอบ รับแสงสว่างจากภายนอกให้เข้าสู่ภายในตลอดทั้งวัน ส่วนประตูหลักที่ใช้สำหรับเข้าบ้านอยู่ถัดจากมุมสวนไปอีกไม่กี่ก้าว เลือกให้เป็นประตูบานทึบสีดำเข้ม เพื่อให้ล้อกับพื้นขัดมันสีเทาเงา ๆ บ้าน 2 ชั้น

อารมณ์ความสดชื่นจากภายนอกลื่นไหลเข้ามาภายในด้วยการจัดคอร์ทสวนเล็ก ๆ ไว้กลางบ้าน หลังคาในส่วนนี้จึงเปิดโปร่งมุงด้วยวัสดุโปร่งแสง ให้แสงแดดส่องลงมาหล่อเลี้ยงต้นไม้ให้งอกงามอย่างที่ตั้งใจไว้ พื้นที่สี่เหลี่ยมถูกล้อมรอบด้วยกระจกใส ปิดตายในบางส่วน และมีประตูไว้ออกไปดูแลรดน้ำพรวนดินในบางส่วนด้วย

พื้นในสวนกลางบ้าน เว้นเป็นพื้นดินไว้สำหรับปลูกต้นไม้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น ตรงกลางทำการปูพื้น เพื่อให้สามารถออกไปนั่งพักได้อย่างสะดวก เมื่อกลับเข้ามาเท้าจะไม่เลอะกับดิน ไม่ส่งผลให้เกิดความยุ่งยากในการทำความสะอาดภายในบ้าน

ห้องครัวสำหรับทำอาหาร ตกแต่งด้วยเฟอร์นิเจอร์สีขาวและสีน้ำตาล

ห้องครัวสำหรับทำอาหาร ตกแต่งด้วยเฟอร์นิเจอร์สีขาวและสีน้ำตาล อยู่ตรงตำแหน่งที่มองเห็นสวนหย่อมนอกบ้านข้างโรงจอดรถพอดี จึงทำให้ทุกมื้อของการทำอาหารมีความเพลิดเพลินมากยิ่งขึ้น ไอซ์แลนด์เตรียมและทำอาหารอยู่กลางห้อง ติดตั้งเครื่องดูดควันไว้เสร็จสรรพ พร้อมพัดลมดูดอากาศบนฝ้าเพดาน ลดการกระจายของกลิ่นและควันไปยังส่วนอื่น ๆ ได้ดี

บนพื้นที่ชั้นสองมีห้องทำงานอยู่ด้วย จัดไว้ในตำแหน่งที่เชื่อมโยงกับระเบียงด้านข้าง แยกส่วนกับห้องนอนที่ต้องการความเป็นส่วนตัวด้วยทางเดินกระจกนิรภัยที่โปร่งใสจนมองเห็นทะลุไปจนถึงชั้นล่าง เปิดผนังด้านข้างเป็นกระจกบานใหญ่แบบปิดตาย รับแสงจากทั้งบนหลังคาและระเบียงให้กระจายเข้าสู่ทุกชั้นของบ้านได้อย่างทั่วถึง

ช่องแสงของบ้านเน้นบานกระจกที่ค่อนข้างใหญ่ ไม่เว้นแม้กระทั่งในห้องน้ำ ที่นอกจากจะมีการแบ่งโซนเปียกโซนแห้งด้วยการก่อผนังอย่างมิดชิด ยังมีหน้าต่างกระจกติดไว้ในทั้งสองจุด ลดความอับชื้นและช่วยฆ่าเชื้อโรคไปในตัว